เรียนต่ออเมริกา
เรียนต่อนอกที่อเมริกา
ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกามีหลายสาขาวิชาให้นักศึกษาชาวต่างชาติเลือก นักศึกษาจะต้องทำการตัดสินใจเลือก ตั้งแต่ประเภทของโรงเรียน หลักสูตรวิชาเรียน และสถานที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งมีตัวเลือกให้เลือกอย่างมากมายล้นหลาม ดังนั้นการที่นักศึกษาจะทำการตัดสินใจเลือกที่เรียนได้นั้น นักศึกษาต้องทำความเข้าใจ
กับระบบการศึกษาของประเทศนี้ก่อน เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเลือกโรงเรียนและวางแผนการศึกษาของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สหรัฐอเมริกามีระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับ มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก 7 ใน 10 อันดับแรกอยู่ในอเมริกาตามการจัดอันดับของ Times Higher Education World University Rankings ปี 2013/2014 โดยในกลุ่มมหาวิทยาลัยดีที่สุด 200 อันดับแรกเป็นมหาวิทยาลัยในอเมริกาถึง 76 แห่ง ด้วยอาณาเขตที่กว้างใหญ่ของสหรัฐอเมริกาทำให้มีสถานศึกษาจำนวนมาก ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกได้ตามความสนใจส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมือนกับเมืองๆ หนึ่ง และวิทยาลัยขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยและรู้จักกันหมด หมู่เกาะเขตร้อนชื้น ทะเลทรายแห้งแล้ง ทุ่งหิมะ แกรนด์แคนยอน แคลิฟอร์เนีย และนิวยอร์กซิตี้ ไม่ว่าคุณจะชอบแบบไหน อเมริกามีทุกอย่างให้เลือก
ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาในระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
- ปริญญาตรี หรือ Undergraduate
โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรนี้จะใช้เวลา 4 ปี มีสาขาวิชาที่เปิดรับมากมาย เปิดสอนทั้งสาขาศิลปศาสตร์ (B.A.), สาขาวิทยาศาสตร์ (B.S), สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng.), หรือสาขานิติศาสตร์ (L.L.B)
*หมายเหตุ: บางสถาบันศึกษาสามารถทำการย้ายโอนหน่วยกิตหลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชน (Community Colleges) ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยได้ โดยเข้าเรียนในระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนั้น
- Pre-Master course หรือ Graduate pathway
หลักสูตรปรับพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมเข้าเรียนต่อระดับปริญญาโทสำหรับนักศึกษานานาชาติ โดยหลักสูตรนี้ สามารถเก็บหน่วยกิจในระดับปริญญาโทได้ตามเงื่อนไขของแต่ละมหาวิยาลัย
- ปริญญาโท หรือ Graduate
โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรนี้จะใช้เวลา 2 ปีที่สหรัฐอเมริกา แต่ในบางหลักสูตรของบางมหาวิทยาลัย จะมีคอร์สเรียนระดับปริญญาโทที่ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น โดยขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
- ปริญญาเอก หรือ PhD/Doctorate
หลักสูตรปริญญาเอกจะใช้เวลา 4-6 ปี โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ Coursework เป็นการเรียนทฤษฏีต่างๆ ในห้องเรียนในช่วง 1-4 ปีแรก และ Thesis เป็นการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์ ในช่วง 2-4 ปีหลัง
วิธีการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอเมริกา
ผู้ที่สนใจเรียนต่อต่างประเทศ และมีความใฝ่ฝันว่าอยากไปสัมผัสประเทศที่ขึ้นชื่อด้านการศึกษาเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างที่สหรัฐอเมริกามีขั้นตอนการสมัครที่ค่อนข้างเยอะ และต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างมากสำหรับ วิธีการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอเมริกา น้อง ๆ ที่สนใจเรียนต่ออเมริกาสามารถสมัครเรียนผ่านทาง Hands On Education Consultants ตัวแทนกว่า 100 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
โดยการบริการของเรา เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องการปรึกษาคอร์สเรียนและเลือกมหาวิทยาลัย, ส่งใบสมัคร, ติดตามสถานะ ตลอดจนเตรียม เอกสารยื่นวีซ่า รวมไปถึงเรื่องของที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ประกันสุขภาพ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
วันนี้เราจะมาบอกต่อถึงขั้นตอนแรก ๆ ที่ทุกคนจะต้องคำนึง นั่นก็คือขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษานั้นเอง ซึ่งเราจะต้องมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเงื่อนไขในการสมัครที่ใกล้เคียงกัน เพราะถ้าน้อง ๆ อยากจะไปเรียนต่อยังมหานครแห่งเสรีภาพ บวกกับความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างที่สหรัฐอเมริกาล่ะก็ เราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด ไปดูกันเลยดีกว่าว่า สิ่งที่เราควรจะต้องเตรียมนั้นมีอะไรกันบ้าง
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา
- Application Online and Application Fee ใบสมัครและค่าสมัคร บางมหาวิทยาลัยจะงดเว้นค่าสมัคร ในกรณีที่สมัครผ่าน Hands On
- English Language Score (TOEFL or IELTS) หลักฐานคุณสมบัติความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
- Standardize Test (UG – SAT/ACT, PG – GMAT/GRE) ในบางสาขาวิชา ต้องยื่นผลสอบเพิ่มเติม
- Academic Transcript ใบรับรองผลการเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือจากมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักเรียนต่างชาติที่จบการศึกษานอกสหรัฐอเมริกา ต้องทำการ Evaluation Transcript จากองค์กรของอเมริกา เช่น World Education Services (WES), Educational Credential Evaluators (ECE), National Association of Credential Evaluation Services (NACES) เป็นต้น ในขั้นตอนการตรวจสอบนี้มีค่าใช้จ่ายที่ผู้สมัครดำเนินการด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับการร้องขอของมหาวิทยาลัย
- Recommendation Letters จดหมายหรือเอกสารรับรองจากคุณครู, อาจารย์ หรือจากที่ทำงาน (สำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงาน) อย่างน้อย 2-3 ฉบับ
- Certificate of completion หนังสือรับรองการทำงานแบบเปิดผนึก (ไม่ระบุชื่อผู้รับ) สำหรับยื่นสมัครเบื้องต้น
- Personal Statement and Supplemental Essay (Topic required by University) จดหมายแนะนำตัวเอง เพื่อบอกเล่าถึงจุดประสงค์ เหตุผล และแรงจูงใจผู้สมัครที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่สมัครเรียน ซึ่งจดหมายฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทีม Admission Committee ของมหาวิทยาลัยใช้พิจารณาใบสมัครของเรา
- Resume/CV ประวัติส่วนตัวโดยย่อที่ให้รายละเอียดครบถ้วนเกี่ยวกับรายละเอียดเฉพาะตัวของผู้สมัคร ประสบการณ์และผลงานจากช่วงเรียนหรือช่วงการทำงานที่ผ่านมา หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความสามารถหรือตัวของผู้สมัคร
- Professional certificate (if applicable) เอกสารการฝึกงาน หรือใบประกาศนียบัตรอื่น ๆ
- Copy of passport สำเนาหนังสือเดินทาง
- Bank statement, Bank letter or scholarship letter showing proof of sufficient funds ติดต่อขอจดหมายรับรองบัญชีการเงินของผู้สมัคร ต้องเป็นบัญชีที่มีรายรับและรายจ่ายและมีอายุมากกว่า 6 เดือนเป็นต้นไป หรือขึ้นอยู่กับข้อกำหนดจากทางมหาวิทยาลัย โดยในบัญชีต้องมีการแปลงหน่วยเงินบาท (THB) เป็น ดอลลาร์สหรัฐ (USD) พร้อมระบุชื่อผู้สมัครเรียน (และถ้าหากมีให้ใส่ชื่อของผู้สนับสนุนทางการเงินด้วย) จำนวนเงินที่ระบุบนจดหมายต้องครอบคลุมทั้งค่าเรียนและค่าครองชีพตลอดปีการศึกษาของผู้สมัครทั้งหมด
- Declaration of Finances Form or Affidavit of Support เอกสารรับรองการเงินของผู้สนับสนุนทางการเงิน (ในกรณีที่ผู้สมัครมีผู้สนับสนุน อย่างเช่น ผู้ปกครองหรือญาติ)
เอกสารทั้งหมดนี้ควรจัดเตรียมเป็นภาษาอังกฤษแบบทางการจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นขอเอกสาร อาทิ English Language Score, Standardize Test, Academic Transcript, Recommendation Letters, Certificate of Completion และเอกสารอื่น ๆ ที่เราสามารถเตรียมเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้ตั้งแต่ต้น ส่วนเอกสารทีได้รับมาเป็นภาษาไทยโดยเฉพาะ ผู้สมัครควรนำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษที่มีหน่วยงานรับรอง นอกจากนั้นหากมีเอกสารใดที่เราไม่สามารถส่งต้นฉบับไปได้ ต้องทำสำเนาและมีการรับรองอย่างถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมของลิสต์ข้างต้นนี้ เพื่อเตรียมตัวสมัครเรียนต่อเราพร้อมช่วยเหลือทุกขั้นตอนการสมัครเรียนต่ออเมริกา
สถาบันของสหรัฐอเมริกาในระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
สถาบันในสหรัฐอเมริกามีให้เลือกมากมายกว่า 4,000 แห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน โดยสถาบันศึกษาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้ วิทยาลัย, วิทยาลัยชุมชน, มหาวิทยาลัย, สถาบันเฉพาะทาง และสถาบันทางเทคโนโลยี
- วิทยาลัย (college)
- วิทยาลัยชุมชน (Community College)
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ 2 หลักสูตร คือ
1. Transferable Programme
หลักสูตรพื้นฐาน 2 ปีแรกของระดับปริญญาตรี นักศึกษาสามารถย้ายโอนหน่วยกิตไปยังมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน เพื่อศึกษาต่อในระดับปีที่ 3-4 สามารถจบและรับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำนั้นๆ ได้
2. Terminal/ Vocation Track
เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนเป็นเวลา 2 ปี เเละสำเร็จการศึกษาโดยได้รับวุฒิอนุปริญญา (Associate’s Degree) ในสาขาที่เลือกเรียน
- สถาบันเฉพาะทาง (Institute)
เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะทาง เช่น ศิลปะและการออกแบบ ดนตรี วิศวกรรม ธุรกิจ และสาขาวิชาชีพอื่นๆ มากมาย
- สถาบันทางเทคโนโลยี (Institute of Technology)
เปิดสอนหลักสูตรเทียบเท่าระดับปริญญาตรี ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 4 ปี โดยบางสถาบันมีการเปิดสอนหลักสูตรอื่นๆ เช่น หลักสูตรระยะสั้น และ หลักสูตรปริญญาโท
- มหาวิทยาลัย (University)
การเรียนของมหาวิทยาลัยมี 2 ระบบการศึกษาเป็นหลัก ด้วยการควบคุมและดำเนินจากการเป็น มหาวิทยาลัยรัฐบาล ที่จะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการวิจัยต่าง ๆ จากภาครัฐ เช่นเดียวกับการเรียนมหาวิทยาลัยรัฐในบ้านเรา ส่วนอีกระบบนึงคือการดำเนินการด้วยการตั้งมหาวิทยาลัยเป็นเอกชน ซึ่งจะความล้ำหน้าและไม่ยึดติดกับความเป็นสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมมากนัก ที่มาพร้อมกับความทันสมัยในการเรียนการสอนและสื่อการสอน การเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนจึงมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ขั้นตอนและเอกสารการขอวีซ่านักเรียน
ขั้นตอนในการดำเนินการขอวีซ่าอเมริกา
- เตรียมเอกสารในการยื่นขอ Student visa F-1 (อ่านข้อมูลรายละเอียดได้ด้านล่าง)
- ชำระค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า Student visa F-1 จำนวน 4,960 บาท ที่ธนาคารกรุงศรี * Hands On สามารถช่วยดำเนินการลงทะเบียนให้ แต่ผู้สมัครต้องไปชำระเงินที่ธนาคารด้วยตนเอง
- ชำระค่า SEVIS Fee จำนวน $350 เหรียญ สำหรับ Student visa F-1
- ชำระผ่านบัตรเครดิต / เดบิต ผ่านระบบออนไลน์ที่ https://www.fmjfee.com/i901fee/
- ปริ้นใบเสร็จการชำระเงินค่า SEVIS Fee
- กรอกแบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่า (ผ่านเว็บ: DS-160 Visa Application)
- กรอกผ่านระบบออนไลน์ในเว็บไซต์ จากลิงก์ด้านบน
- จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะหลังจากที่ส่งแบบฟอร์มแล้วไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่ Hands On จะช่วยตรวจเช็คความถูกต้องให้ ในวันที่มาเตรียมความพร้อมการสัมภาษณ์ ก่อนกดยืนยันข้อมูล
- ทำการนัดวันสัมภาษณ์ Visa (ผ่านเว็บ: CGI Federal)
- นัดสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ในเว็บไซต์ จากลิงก์ด้านบน
- ทาง Hands On ช่วยดำเนินการนัดสัมภาษณ์ให้ในวันที่นักเรียนต้องการ
- สามารถเข้าไปนัดสัมภาษณ์ ในวันถัดไปหลังเที่ยง หลังจากชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า
- ปริ้นใบนัดหมายการสัมภาษณ์ (Appointment Confirmation)
- เดินทางไปสัมภาษณ์ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ตามวันเวลาที่นัดหมาย (ควรถึงก่อน 30 นาที)
- สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (การเดินทาง BTS: สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 2)
- สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่
โอกสารในการยื่นขอ USA Student F-1 Visa
- Passport เล่มปัจจุบันที่มีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน ในกรณีที่ลงเรียนมากกว่า 6 เดือน แนะนำให้ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ รวมทั้ง Passport เล่มเก่าทุกเล่ม
- สำเนาทะเบียนบ้าน หน้าที่เห็นหน้าเล่มของทะเบียนบ้าน และหน้าที่เห็นชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร
- แบบฟอร์ม I-20 หรือ จดหมายตอบรับการเข้าศึกษาจากสถาบันศึกษาที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ออกให้
- แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่า DS-160 ที่ผู้ขอวีซ่าต้องกรอกรายละเอียดลงในเว็บไซต์ (เอกสารข้อมูลผู้สมัคร DS-160) ข้อมูลที่ใช้ในการกรอกคือ ข้อมูลประวัติส่วนตัวของนักเรียน และข้อมูลของคุณพ่อและคุณแม่ (ชื่อ-สกุล, วันเกิด) รวมถึงข้อมูลตาม I-20 ให้ถูกต้อง
- รูปถ่าย 1 ใบ และไฟล์รูปถ่าย (.JPEG) ขนาด 2×2 นิ้ว พื้นหลังสีขาว เห็นใบหู 2 ข้าง (แจ้งร้านถ่ายรูปว่าสำหรับทำวีซ่าอเมริกาได้เลย)
ใบยืนยันการนัดสัมภาษณ์ (จากเว็บไซต์ ยื่นคำร้องขอวีซ่าอเมริกา) เพื่อนำไปรอรับคิวเข้าสัมภาษณ์วีซ่าที่สถานฑูตอเมริกาในประเทศไทย รวมทั้งใบเสร็จชำระเงินค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอร้องขอวีซ่าไปด้วย
- Academic Transcript ใบรับรองผลการเรียนทุกฉบับ ฉบับภาษาอังกฤษ
- Degree Certificate / Student Status Certificate ใบรับรองการจบการศึกษา ฉบับภาษาอังกฤษ
- English Language Score (TOEFL / IELTS) สำหรับนักเรียนที่สมัครหลักสูตรปริญญาและวิชาชีพ
- Financial Support Documentation เอกสารรับรองการเงินทั้งของตัวเองหรือของผู้สนับสนุน
- เอกสารสำเนาบัตรประชาชนของผู้สนับสนุน และเอกสารความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนับสนุนและตัวผู้สมัคร
- เอกสารการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
Note: สำหรับน้องคนไหนที่ซื้อตั๋วเครื่องบินไว้แล้ว ไม่ต้องนำไปด้วยนะคะ เพราะไม่มีผลต่อการสัมภาษณ์ค่ะ
เอกสารที่จำเป็นสำหรับผู้สมัครขอวีซ่าอเมริกาด้วยบัญชีการเงินรูปแบบต่าง ๆ
กรณียื่นหลักฐานทางการเงินส่วนตัวของผู้สมัครเรียน Personal Account
- จดหมายรับรองการทำงาน พร้อมระบุเงินเดือน ฉบับภาษาอังกฤษ
- Bank Letter / Bank Guarantee รายละเอียดที่จำเป็นต้องระบุคือ ชื่อนักเรียน, เลขที่บัญชี, จำนวนเงินบาท, ข้อความว่าเงินจำนวนนี้ฝากมาแล้วเกิน 6 เดือน ระบุเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ USD (และสามารถถอนเงินออกได้ตลอดเวลา สำหรับบัญชีฝากประจำ)
- สมุดบัญชี หรือ Bank Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
กรณีที่ใช้บัญชีผู้ปกครองหรือญาติเป็นผู้รับรอง
- จดหมายแสดงหลักฐานการทำงานพร้อมระบุเงินเดือน / หนังสือจดทะเบียนบริษัท (เจ้าของกิจการ)
- สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน ของตัวผู้สมัครและของผู้สนับสนุนทางเการเงิน
- Bank Letter / Bank Guarantee รายละเอียดที่จำเป็นต้องระบุคือ ผู้สมัครเรียน, ชื่อของผู้สนับสนุนทางการเงิน, เลขที่บัญชี, จำนวนเงินบาท, ข้อความว่าเงินจำนวนนี้ฝากมาแล้วเกิน 6 เดือน ระบุเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ USD (และสามารถถอนเงินออกได้ตลอดเวลา สำหรับบัญชีฝากประจำ)
- สมุดบัญชี หรือ Bank Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
กรณีที่ได้รับทุนจากรัฐบาลหรือบริษัท
- จดหมายรับรองทุน ฉบับภาษาอังกฤษ
- จดหมายแสดงหลักฐานการทำงานพร้อมระบุเงินเดือน / หนังสือจดทะเบียนบริษัท (เจ้าของกิจการ)
ค่าธรรมเนียมการสมัคร Student visa F-1
- ค่าธรรมเนียม Student visa F-1 จำนวน *4,960 บาท
- ค่า SEVIS Fee จำนวน $350 เหรียญ
Note: สำหรับค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า Student visa F-1 อัตราแลกเปลี่ยนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา กรุณาตรวจสอบได้ที่ U.S. Travel Docs